ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ
การเทรดตามเทรนด์ใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างครอบคลุม ซึ่งรวมทั้งรูปแบบกราฟและตัวชี้วัดทางเทคนิคด้วย ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือจำเป็นที่ใช้ข้อมูลราคาและใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ต่างๆ เพื่อแปลงเป็นข้อมูลภาพ เช่น กราฟหรือออสซิลเลเตอร์ ซึ่งสามารถให้สัญญาณเข้าหรือออกแก่เทรดเดอร์ได้ ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลราคา ตัวชี้วัดสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความแข็งแกร่งของเทรนด์ โมเมนตัม จุดเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้น และจุดกลับตัวที่เป็นไปได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ตัวชี้วัดถือเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้เทรดตามเทรนด์
ตัวชี้วัดสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทที่แตกต่างกันตามลักษณะทั่วไป ซึ่งก็คือตัวชี้วัดราคา ปริมาณ และออสซิลเลเตอร์ ตัวชี้วัดราคาช่วยคุณในการวัดเทรนด์การเคลื่อนไหวของราคาโดยรวม ตัวชี้วัดปริมาณช่วยวัดความเชื่อมั่นของตลาด ขณะที่ตัวชี้วัดออสซิลเลเตอร์จะช่วยคุณระบุระดับที่เทรนด์โดยรวมจะเปลี่ยนแปลงไป
ความจริงก็คือ การเทรดในตลาดฟอเร็กซ์ไม่ใช่การเทรดขาเดียว ด้วยเหตุนี้ เทรดเดอร์จึงต้องเรียนรู้ว่ามีตัวชี้วัดมากมายที่จะช่วยระบุเวลาที่ดีที่สุดในการซื้อหรือขายอัตราข้ามฟอเร็กซ์ ด้านล่างนี้ เราจะมาสำรวจตัวชี้วัดทางเทคนิคที่สำคัญและใช้กันบ่อยที่สุดบางส่วนกัน:
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หรือ Moving Average
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มีสองประเภทด้วยกัน คือ Simple กับ Exponential Moving Average (SMA กับ EMA) สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจในตรงนี้คือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คำนวณโดยการหารผลรวมของราคาปิดในช่วงเวลาที่กำหนดด้วยช่วงเวลาที่คำนวณผลรวม SMA ใช้วิธีนี้คำนวณ จึงถือว่า ‘Simple หรือเรียบง่าย’ ขณะที่ EMA มีวิธีการคำนวณที่คล้ายกัน ยกเว้นการเน้นไปที่ราคาปิดล่าสุดมากกว่า ซึ่งเป็นสาเหตุที่เรียกว่า “Exponential หรือทวีคูณ”
ในท้ายที่สุด ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับแบบที่คุณรู้สึกสบายใจและสไตล์การเทรดของคุณเป็นอย่างไร EMA สามารถให้สัญญาณตั้งแต่เนิ่นๆ ได้มากมาย แต่ก็อาจให้สัญญาณเท็จและสัญญาณก่อนถึงเวลาอันควรได้มากกว่า ในทางตรงกันข้าม SMA ให้สัญญาณน้อยกว่าและมีความถี่น้อยกว่า แต่จะไม่ค่อยมีสัญญาณเท็จในช่วงที่มีความผันผวน
การตั้งค่ากรอบเวลา?
เมื่อเลือกประเภทค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เทรดเดอร์ต้องถามตัวเองว่าการตั้งค่าช่วงเวลาใดถึงจะเหมาะสม ในแง่ที่ว่าสามารถให้สัญญาณที่แม่นยำที่สุดได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นนักเทรดรายวันระยะสั้น คุณต้องมีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่รวดเร็วและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาทันที เมื่อพูดถึงช่วงเวลาและระยะเวลา โดยปกติจะมี 3 ช่วงค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลัก ได้แก่ ช่วง 9 หรือ 10 วัน, ช่วง 21 วัน และช่วง 50 วัน
Moving Average Convergence Divergence (MACD)
แทนที่จะยึดติดกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เส้นเดียว MACD ใช้ประโยชน์จาก 3 EMA EMA สองตัวแรกถูกใช้เพื่อสร้างฮิสโตแกรม ขณะที่เส้นที่สามสร้างเส้นสัญญาณ เนื่องจาก MACD ใช้ EMA ที่แตกต่างกันสามแบบ จึงถือเป็นตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือกว่ามาก สัญญาณเทรดจะถูกสร้างขึ้น ณ จุดที่เส้นสัญญาณตัดผ่านแท่งฮิสโตแกรม การตัดผ่านโดยเส้นสัญญาณนอกแท่งไปยังขาลงเป็นสัญญาณกระทิงและเช่นเดียวกันในทางกลับกัน
ยิ่งไปกว่านั้น ตำแหน่งและความสูงของแท่งฮิสโตแกรมยังใช้เพื่อแสดงความแข็งแกร่งของเทรนด์ในปัจจุบันด้วย แท่งด้านนอกสามารถกระจายออกจากเส้นตรงกลางและขยับขึ้นหรือลงได้ การขยับขึ้นแสดงให้เห็นว่าเป็นเทรนด์กระทิงและเช่นเดียวกันในทางกลับกัน ขณะเดียวกัน ความสูงของแท่งแสดงให้เห็นว่าเทรนด์แข็งแกร่งเพียงใด ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะเข้าสู่การเทรดหรือไม่
ดัชนีกำลังสัมพัทธ์หรือ Relative Strength Index (RSI)
คำนวณโดยการวัดว่าราคาตอบสนองเร็วแค่ไหน ดัชนีชี้วัด RSI มีความสำคัญในการพิจารณาว่าเทรนด์ของตลาดอาจใกล้จะกลับตัวแล้วหรือไม่ ตัวอย่างเช่น หากมีเทรนด์การซื้ออย่างกะทันหันในสกุลเงินหนึ่ง ดัชนีชี้วัด RSI จะตอบสนองด้วยการขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทำงานบนหลักการที่ว่าราคาตลาดมักจะแก้ไขตัวเองอยู่เสมอเพื่อให้สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ ดังนั้น หลังจากที่ RSI ขยับขึ้นอย่างรวดเร็ว มันบ่งชี้ว่าราคาตลาดอาจตกกลับลงมา เป็นการกลับตัวของเทรนด์ขาขึ้น ในการประเมินความน่าจะเป็นของการกลับตัวที่กำลังจะเกิดขึ้น RSI จะวัดเป็นค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ค่าตัวเลขใกล้ศูนย์บ่งชี้ถึงการกลับตัวที่เป็นไปได้ไปในทิศทางขาขึ้น ขณะที่ค่าตัวเลขใกล้ 100 บ่งชี้ถึงสิ่งที่ตรงกันข้าม
On-Balance Volume (OBV)
ตัวปริมาณเองคือตัวชี้วัดที่มีค่า OBV ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณเป็นจำนวนมากและอัดรวมเป็นสัญญาณเส้นเดียว ตัวชี้วัด OBV วัดแรงซื้อ/ขายสะสมโดยการเพิ่มปริมาณในวันขาขึ้นและหักลบปริมาณในวันขาลง ซึ่งตามหลักการแล้ว ปริมาณควรยืนยันเทรนด์ได้ ราคาที่ปรับขึ้นควรมาพร้อมกับ OBV ที่เพิ่มขึ้น และราคาที่ปรับลงควรมาพร้อมกับ OBV ที่ลดลง สิ่งสำคัญคือต้องทราบด้วยว่าหาก OBV เพิ่มขึ้นแต่ราคาไม่ปรับขึ้น ราคาก็มีแนวโน้มที่จะตาม OBV ไปและเริ่มปรับขึ้น หากราคาปรับขึ้นและ OBV ทรงตัวหรือลดลง ราคาอาจใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
Bollinger Bands
ตัวชี้วัด Bollinger Bands ถูกพัฒนาขึ้นโดย John Bollinger นักเทรดด้านเทคนิคที่มีชื่อเสียง โดยวางค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสองค่าห่างจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย ราคาของหุ้นถูกตีกรอบไว้ด้วยแถบบนและล่างพร้อมกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย 21 วัน แถบจะกว้างขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อความผันผวนเพิ่มขึ้นและแคบลงเมื่อความผันผวนลดลง Bollinger Bands ถูกใช้เพื่อคาดเดาจุดเปลี่ยนที่เป็นไปได้ในอนาคต
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ ด้วยการตั้งค่าที่ถูกต้อง Bollinger Bands จะมีการเคลื่อนไหวของราคามากกว่า 90% ซึ่งผันผวนระหว่างสองแถบ เมื่อแถบหดตัวและเข้ามาใกล้กัน รูปแบบนี้เรียกว่าบีบ การบีบส่งสัญญาณว่ามีความผันผวนในตลาดที่ต่ำ และถือเป็นสัญญาณที่อาจเป็นไปได้สำหรับความผันผวนที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
เทรดเดอร์หลายคนเชื่อว่ายิ่งราคาขยับเข้าใกล้แถบบนมากเท่าไหร่ ตลาดก็ยิ่งมีการซื้อที่เยอะเกินไปมากเท่านั้น ในขณะที่ราคาขยับเข้าใกล้แถบล่างมากเท่าไหร่ ตลาดก็จะยิ่งมีการขายที่เยอะเกินไปมากเท่านั้น ดังนั้น Bollinger Bands จึงถูกใช้เพื่อระบุจุดกลับตัวและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในทิศทางราคา
ไม่มีตัวชี้วัดใดที่มีความครบถ้วนโดยสมบูรณ์
ตัวชี้วัดสามารถลดความซับซ้อนของข้อมูลราคา รวมทั้งให้สัญญาณการเทรดตามเทรนด์หรือเตือนถึงการกลับตัว ตัวชี้วัดสามารถใช้ได้กับทุกกรอบเวลา และมีตัวแปรที่สามารถปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของเทรดเดอร์แต่ละราย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าไม่มีตัวชี้วัดใดที่มีหรือถือว่ามีความครบถ้วนโดยสมบูรณ์ เมื่อพูดถึงการเทรดตามเทรนด์ เป็นความคิดที่ดีเสมอที่จะใช้ตัวชี้วัดหลายแบบเพื่อยืนยันการเริ่มต้นของเทรนด์